มีความสุขเพลิดเพลินกับการช้อปปิ้ง ซื้อของใช้ของฝากกันเป็นที่เรียบร้อย ถึงเวลาต้องกลับประเทศไทยแล้ว แต่!!! เพื่อน ๆ รู้ไหมว่าของใช้ ของฝากเหล่านั้นใช่ว่าจะนำกลับมากี่ชิ้นก็ได้นะ เพราะทันทีที่ลงจากเครื่องบินแล้วผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองมาแล้ว ชั้นปราการอีกด่านหนึ่งก็คือ ด่านศุลกากร ซึ่งก็เป็นปัญหาว่า อะไรนำเข้ามาได้ นำเข้าไม่ได้ นำเข้ามาได้แล้วต้องเสียภาษีไหม ต้องเดินเข้าช่องไหนถึงจะถูกต้อง เรามาสรุปให้เข้าใจง่าย ๆ กัน
ตามประกาศฉบับใหม่ของกรมศุลกากร ฉบับ 60/2561 ที่เริ่มบังคับใช้ ตั้งแต่ 26 กุมภาพันธ์ 2561 เป็นต้นมานั้น ได้กำหนดไว้ว่า
- ผู้โดยสารที่จะนำของมีค่า เช่น นาฬิกา กล้องถ่ายรูป โน๊ตบุ๊ก จะต้องแจ้งต่อพนักงานศุลกากรทุกครั้ง ณ ห้องที่ทำการศุลกากรบริเวรณห้องผู้โดยสารขาออก โดยจะต้องนำภาพถ่ายของที่จะนำมาแจ้งจำนวน 2 ชุด เจ้าหน้าที่จะออกใบรับแจ้งให้ซึ่งในวันเดินทางกลับต้องต้องนำมาแสดงด้วย
- เมื่อเดินทางกลับ ให้แสดงใบรับแจ้งของมีค่าต่อพนักงานศุลกากร เพื่อขอรับการยกเว้นอากรฝนฐานะของใช้ส่วนตัว
- ของมีค่าหรือของใช้ส่วนตัวที่ใช้อยู่ปกติที่ผู้โดยสารนำติดตัวออกนอกประเทศ หรือเป็นเครื่องประดับตามปกติ อันนี้ไม่ต้องแจ้งต่อพนักงานศุลกากร
- สำหรับคนที่ซื้อของมาจากต่างประเทศ และมีจำนวนพอสมควรสำหรับไว้ใช้เอง มีราคารวมกันไม่เกิน 20,000 บาท อันนี้ไม่ต้องเสียภาษี
- บุหรี่ไม่เกิน 200 มวน สุราไม่เกิน 1 ลิตร ยาเส้นไม่เกิน 250 กรัม หากไม่เกินนำเข้าได้ หากเกินทางต้องทิ้ง
- ของที่มีมูลค่ารวมกัน 200,000 บาท หรือเป็นของชิ้นเดียวเกิน 200,000 บาท ให้ขึ้นอยู่กุลอำนาจของเจ้าหน้าที่ศุลกากร
- ของที่ซื้ัอจากร้านค้าปลอดภาษี (Duty Free) ที่สนามบิน จะต้องนำออกนอกประเทศเท่านั้น หากนำกลับมาต้องผ่านช่องแดงและเสียอากร
ภาษีที่ต้องเสียเมื่อของเกิน 20,000 บาท
- นาฬิกา เสียภาษีศุลกากร 5% และภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%
- โทรศัพท์มือถือ กล้องถ่ายรูป และอุปกรณ์ไอทีต่าง ๆ ได้รับการยกเว้นภาษีศุลกากร แต่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%
- กระเป๋า เสียภาษีศุลกากร 20% และภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%
- รองเท้า เสียภาษีศุลกากร 30% และภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%
ยกตัวอย่างง่าย ๆ
สมมติว่าซื้อกระเป๋า 1 ใบ มูลค่า 100,000 บาท
ราคาอากร คือ 100,000 x 20% = 20,000 บาท
ภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ (100,000+20,000) = 120,000 x 7% = 8,400 บาท
รวมภาษีที่ต้องชำระคือ 20,000+8,400 = 28,400 บาท รวมมูลค่าทั้งหมด 128,400 บาท
บทลงโทษ
- ปรับ 4 เท่าของมูลค่าสิ่งของโดยบวกภาษีและอากรแล้ว
- จำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ
- ของที่หลีกเลี่ยงการชำระอากรต้องถูกริบเป็นของแผ่นดิน
ใครต้องเดินเข้าช่องไหน
- ผู้ที่ไม่มีของต้องห้ามและอยู่ในเงื่อนไข สามารถเดินเข้าช่องเชียว (NOTHING TO DECLARE) ได้เลย แต่ช่องเขียวนี่แหละที่มีการสุ่มตรวจ หากเจอของต้องสำแดงแล้วเดินผ่านช่องนี้ก็ต้องโดนลงโทษ
- ผู้ที่คิดว่ามีของที่ไม่อยู่ในเงื่อนไข ต้องเดินเข้าช่องแดง (GOODS DECLARE) ได้เลย หากเดินเข้าช่องนี้แล้วไม่มีของต้องเสียอากร ก็ไม่ต้องเสียนะจะบอกให้
คราวต่อไป แพลนจะเที่ยวต่างประเทศแล้ว ก็อย่าลืมปฏิบัติตามกฎของกรมศุลกากรกันด้วยนะ จะได้ช้อปสบายใจ ไม่ทำผิด