ปะเที่ยวกันสถานที่ท่องเที่ยว

พาไปเที่ยว: บ้านสกุลคู (Khoo Kongsi) ปีนัง มาเลเซีย

บ้านสกุลคู (Khoo Kongsi) เป็นบ้านของตระกูลคู ซึ่งเป็นชาวจีนฮกเกี้ยนที่อพยพเข้ามาในปีนัง ถูกสร้างขึ้นในช่วงปี 1890 โอ่โถงสวยงามดุจดั่งพระราชวังจีน และได้สร้างขึ้นใหม่อีกครั้งในปี 1902 หลังจากเกิดเหตุเพลิงไหม้

ด้านหน้าทางเข้า
ด้านหน้าทางเข้า

บริเวณทางเข้ากำลังปรับปรุงใหม่โดยมีการเพิ่มร้านค้า ต่าง ๆ เข้าไป แต่รังคงรักษากลิ่นอายของวัฒนธรรมและรูปแบบจีนอยู่ เมื่อเดินผ่านทางเข้ามาแล้วจะเจอจุดจำหน่ายบัตรเข้าชม ซึ่งที่บ้านสกุลคูนี้ต้องเสียค่าเข้าชมจำนวน 10 ริงกิตต่อคน (73 บาท)

จุดจำหน่ายบัตรเข้าชม
จุดจำหน่ายบัตรเข้าชม

หอนี้จะเป็นที่ตั้งป้ายวิญญาณของตระกูลคู ซึ่งมีป้ายวิญญาณอยู่จำนวนมากเลยทีเดียว

ห้องตั้งป้ายวิญญาณของตระกูลคู
ห้องตั้งป้ายวิญญาณของตระกูลคู

บ้านสกุลคู เป็นบ้านประจำตระกูลหนึ่งในห้าแห่งของในเมืองปีนัง มีความโดดเด่นเรื่องความหรูหรา คล้ายพระราชวังที่จีน งานแกะสลักไม้ แกะสลักหิน ดูละเอียดปราณีตทุก ๆ จุด เน้นสีทองตัดสีแดง

เลียงซานตง (Leong San Tong)
เลียงซานตง (Leong San Tong)

ในวันที่ 5 เดือน 5 ปีที่ 2 ของจักรพรรดิเต้ากวัง (ปี 1835) เมื่อ “คู” รวมตัวกันเพื่อฉลองวันเกิดให้กับขุนนางท่านหนึ่งชื่อว่า Tua Sai Yah พวกเขาจึงได้เล็งเห็นว่าจำเป็นต้องตั้งกลุ่มเพื่อรวมตัวกันและดูแลสวัสดิภาพของกลุ่ม รวมไปถึงการไหว้บรรพบุรุษของพวกเขา ดังนั้นในวันที่ 8 ของเดือนเดียวกันมีการรวมตัวกันของคน 102 คนเพื่อก่อตั้งกลุ่มโดยใช้เงินบริจาคของกลุ่มดังกล่าวเป็นเงิน 528 ดอลลาร์ และในวันที่ 5 เดือน 7 ปี 1850 พวกเขาก็ได้ซื้อที่ดินบริเวณปัจจุบันจำนวน 97,035 ตารางฟุต ซึ่งแต่เดิมเป็นที่ตั้งของบังกะโลในท้องถิ่นของอังกฤษ

ป้ายขบวนของเฉิงซุนกง
ป้ายขบวนของเฉิงซุนกง

ขึ้นบันไดมาด้านจะเจอกับ Cheng Soon Keong ห้องโถงกลางของ Leong San Tong, ซึ่งได้ประดิษฐานเทพเจ้า Ong Soon Yah และ ขุนนาง Tua Sai Yah ซึ่งเป็นนักบุญอุปถัมภ์ของตระกูลคู

Cheng Soon Keong
Cheng Soon Keong

ด้านหลังของ Cheng Soon Keong จะมีภาพวาดฝาพนัง เช่น The Nine Old Men (เก้าผู้เฒ่า), The Hundred Sons and Thousand Grandsons (หมื่นหลายร้อยลูก), The Eight Immortals (แปดอมตะ) และภาพ The Fisherman, Woodsman, Farmer and Scholar (ชาวประมง นายพราน ชาวนา บัณฑิต)

The Nine Old Men (เก้าผู้เฒ่า) เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในสมัยราชวงศ์ถัง ในช่วงฤดูร้อนปีที่5 รัชสมัยจักรพรรดิหวู่ซง มีกวีชื่อดังใบจูจุ่ยและชายชราอีกแปดคนมารวมตัวกันที่เมืองลั่วหยาง เพื่อเขียนและท่องบทกวีและได้บันทึกเะหตุการณ์ไว้ในภานพวาดเรียกว่า “เก้าผู้เฒ่า” เชื่อกันว่าภาพวาดนี้จะทำให้คนมองมีสุขภาพที่ดีและอายุยืนยาว

The Nine Old Men
The Nine Old Men

The Hundred Sons and Thousand Grandsons (หมื่นหลายร้อยลูก) ภาพวาดนี้เป็นตัวอย่างของความปรารถนาร่วมกันของคนจีนสำหรับครอบครัวใหญ่ที่มีลูกหลานมากมาย สำหรับบ้านที่เต็มไปด้วยลูกหลานถือจะว่ามีโชคลาภมาก นอกจากนี้ยังเป็นความต้องการของสกุลคูที่มีความต้องการให้กำเนิดลูกหลายจำนวนมากเพื่อแสดงถึงความเจริญและพลังอำนาจของวงศ์ตระกูล

The Fisherman, Woodsman, Farmer and Scholar (ชาวประมง นายพราน ชาวนา บัณฑิต) ภาพสองภาพที่อยู่ขนาบภาพ The Hundred Sons and Thousand Grandsons ภาพที่อยู่ด้านขวาเป็นภาพชาวประมง และนายพราน ส่วนด้านซ้ายเป็นภาพชาวนา กับบัณฑิต) ภาพนี้เป็นภาพที่สะท้อนให้เห็นถึงคุณค่าของสังคมเกษตรแบบดั้งเดิม ภาพด้านหนึ่งแสดงให้เห็นถึงการทำงานอย่างเพื่อให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ อีกด้านหนึ่ง เป็นการปลูกฝังคุณธรรมที่ดีและพยายามทำงานโดยศึกษาจากหลาย ๆ แห่ง

The Hundred Sons and Thousand Grandsons (หมื่นหลายร้อยลูก) 
The Hundred Sons and Thousand Grandsons (หมื่นหลายร้อยลูก)

The Eight Immortals (แปดอมตะ) นับเป็นของมงคลชิ้นหนึ่ง ภาพจิตรกรรมฝาผนังของ Immortals ใน Leong San Tong แสดงให้เห็นถึง “แปดอมตะที่อารมณ์ดี” วาดโดยศิลปินชื่อ Tan จาก Tong Aun ในปี 1905 และมีข้อความขนาบคู่คือ “ผู้ซื่อสัตย์และบุตรที่ซื่อสัตย์เป็นมนุษย์ชั้นหนึ่ง; การทำนาและการศึกษาเป็นสองสิ่งที่สำคัญที่สุด”

The Eight Immortals (แปดอมตะ)
The Eight Immortals (แปดอมตะ)

Hock Teik Soo เป็นห้องที่อยู่ทางซ้าย ซึ่งได้ประดิษฐาน Tua Pek Kong (เทพเจ้าแห่งความเจริญรุ่งเรือง) ซึ่งจะปกป้องผู้คนในท้องถิ่นที่เคารพสักการะ

Hock Teik Soo
Hock Teik Soo

Ee Kok Tong เป็นห้องทางด้านขวาของ Leong San Tong เป็นห้องโถงบรรพบุรุษของตระกูลคู ภายในห้องมีการวางแผ่นป้ายวิญญาณตามลำดับของของตระกูล

Ee Kok Tong
Ee Kok Tong

ให้ดูโถงทางเดินด้านหน้าชั้นบน ออกแบบได้งดงาม ปราณีต ฝากพนักปูนแกะสลักเป็นรูปแบบต่าง ๆ ของชาวจีน หน้าต่างออกเป็นทรงไม้ไผ่แกะสลักใบไผ่ หลังคาและคานก็แกะสลักจากไม้ ใช้สีแดงกับทองตัดกันดูอลังการมาก

โถงทางเดินเดินหน้า
โถงทางเดินเดินหน้า

ก่อนหน้านี้เราพาดูชั้น 2 ไปแล้ว ลงมาที่ชั้น 1 กันต่อ เป็นคล้าย ๆ ใต้ถุน แบ่งเป็น 4 ห้องหลัก ๆ ได้แก่ ห้องด้านซ้าย ห้องด้านขวา ห้องตรงกลาง และห้องครัว และโถงทางเดินหน้าหลัง

ทางเข้าชั้น 1
ทางเข้าชั้น 1

ชั้นหนึ่งนี้หลัก ๆ จะเป็นห้องจัดแสดงประวัติการก่อตั้ง ผู้ก่อตั้ง ข้าวของเครื่องใช้ในการก่อสร้าง และของใช้ในชีวิตประจำวันที่หาดูได้ยากแล้วในปัจจุบัน

ประวัติ
ประวัติ

ห้องตรงกลางจะเป็นการแสดงแผนผังรวมของบ้านสกุลคูและหมูบ้านรอบ ๆ รวมไปถึงจะกล่าวถึงวัสดุในการก่อสร้าง ลวดลายต่าง ๆ ก็มีระบุไว้อย่างละเอียด

ห้องตรงกลาง
ห้องตรงกลาง
แสดงถึงรายละเอียดของลวดลายต่าง ๆ
แสดงถึงรายละเอียดของลวดลายต่าง ๆ
เครื่องมือในการก่อสร้าง
เครื่องมือในการก่อสร้าง
โถงทางเดินด้านหน้า
โถงทางเดินด้านหน้า

โถงทางเดินด้านหลังจัดเป็นสวนน้ำตกกับบ่อปลา ทำให้ภายในบ้านสดชื่นและดูเข้ากับธรรมชาติมากขึ้น

โถงทางเดินด้านหลัง
โถงทางเดินด้านหลัง

ส่วนครัวก็จัดแสดงแบบย้อนยุค เป็นครัวเตาฝืน ข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ ปิ่นโต หม้อ ไห ภาชนะต่าง ๆ ก็เป็นแบบโบราณ มีโต๊ะทานข้าวที่อยู่ในครัว ทำให้เห็นถึงวัฒนธรรมในบ้านแบบจีน

ห้องครัว
ห้องครัว
กระทะ และเตาฝืน
กระทะ และเตาฝืน
โต๊ะกินข้าว
โต๊ะกินข้าว

ในห้องครัวยังมีช่องระบายอากาศที่เจาะเปิดหลังคา สามารถถ่ายเทอากาศได้ดี และระบายกลิ่นได้ดี

ช่องระบายอากาศ
ช่องระบายอากาศ
ตู้กับข้าว
ตู้กับข้าว
ชุดจานชาม
ชุดจานชาม
กระด้ง
กระด้ง

นอกจากพื้นที่ภายในที่เราชมแล้วยังมีอาคารภายนอกอีกจำนวนหนึ่งแต่ในวันที่เราไปฝนเกิดตกลงมาเลยไม่ได้พาเที่ยวจนครบ และมีบางอาคารยังไม่เิปดให้บริการเนื่องจากปิดปรับปรุง ไว้โอกาสหน้าจะพาไปทเี่ยวจนครบให้หนำใจไปเลย

เป็นอย่างไรกันบ้างกับบ้านสกุลคู ที่เราพาชมในครั้งนี้ เป็นบ้านประจำตระกูลที่สวยงามและคงกลิ่นอายวัฒนธรรมจีนแบบดั้งเดิม ทำให้เรารู้ว่าบ้านหลังใหญ่ ๆ ต้องประกอบไปด้วยอะไรบ้างที่สำคัญที่ขาดไม่ได้เลยคือ ส่วนของป้ายวิญญาณและห้องพระ หากเพื่อน ๆ คนไหนสนใจก็ลองแวะมาเยี่ยมชมได้ ค่าเข้าชมเพียง 10 ริงกิต เท่านั้นเอง

แผนที่บ้านสกุลคู

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button